ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

  สภาอุตสาหกรรมจังหวัดตราด  วัคซีนทางเลือก ซิโนฟาร์ม ระยะที่ 3 สำหรับสมาชิก กำหนดเวลาโดยประมาณ - จองวันที่ 17-22 สิงหาคม 2564 - จัดสรร วันที่ 30 สิงหาคม - 3 กันยายน 2564 - ฉีดวัคซีน เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2564 ***ชำระเงิน ตามจำนวนที่ขอรับการจัดสรร คนละ 2600 บาท*** เงื่อนไข การยกเลิกการจองและขอเงินคืน 1. ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม ก่อนวันที่ 1 กันยายน 2564 2. ไม่ได้รับการจัดสรรจาก ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 3. สงวนสิทธิการเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้เข้ารับการฉีด สามารถแจ้งความประสงค์ได้ในไลน์กลุ่ม ***โปรดตรวจสอบถูกต้อง ก่อนกดยืนยืนและส่ง*** ติดต่อที่ 081-996-4422 สำหรับสมาชิก -  จองวัคซีน  (ปิดแล้ว) - แจ้งการชำระเงิน             https://forms.gle/rZFYHnZoszbHG8h57 - แจ้งรายชื่อผู้รับการฉีด    https://forms.gle/dZaFRzwB9mkT8d116 ตรวจสอบรายชื่อผู้รับการฉีดวัคซีน ระยะที่ 3 ตรวจสอบรายชื่อผู้รับการฉีดวัคซีน ระยะที่ 2 ครั้งที่ 2
โพสต์ล่าสุด

ซื้อของไม่มีบิลทำอย่างไรให้หักเป็นค่าใช้จ่ายได้

เมื่อไปซื้อของหรือจ้างคนมาทำงานให้กับกิจการ ปรากฏว่าร้านที่ซื้อของไม่มีบิลหรือคนที่จ้างมาไม่ใช่บริษัท เช่น จ้างวินมอเตอร์ไซด์ไปส่งเอกสาร พนักงานเรียกแท็กซี่ไปหาลูกค้า ฯลฯ กรณีเช่นนี้อาจจะดูเหมือนว่าไม่สามารถทำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่จริงๆ แล้วสามารถทำได้โดยทำเอกสารประกอบให้ถูกต้องเท่านั้น ในกรณีของนิติบุคคลการจะจ่ายค่าสินค้าหรือค่าบริการ มาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้นั้นจะต้องมีหลักฐานประกอบ โดยทั่วไปก็จะใช้ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน ซึ่งจะต้องมีชื่อกิจการและเลขประจำตัวผู้เสียภาษีตามระเบียบที่กรมสรรพากรกำหนด แต่สำหรับในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้ให้บริการไม่สามารถที่จะออกเอกสารที่เป็นหลักฐานในการซื้อสินค้าหรือให้บริการได้ กิจการสามารถทำเอกสารเพิ่มเป็นหลักฐานในการจ่ายเงิน โดยจัดทำ “หนังสือรับรองการจ่ายเงิน” เพื่อใช้เป็นหลักฐาน และเพื่อให้เอกสารทั้งหมดถูกต้องจะต้องหลักฐานอื่นประกอบให้ครบถ้วนดังนี้ กรอกรายละเอียลงในหนังสือรับรองการจ่ายเงินให้ครบถ้วน ได้แก่ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เลขประจำตัวประชาชน รายการที่ซื้อหรือรับบริการจำนวนเงิน และให้ผู้รับเงินลงนามให้เรียบร้อย ถ่ายสำเนาบัตรประชาชนของผู้ขา

น้ำมันรถหักภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่ได้กันแน่

น้ำมันที่เติมไปบนรถยนต์แต่ละประเภทมีเงื่อนไขในการนำไปเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มที่แตกต่างกัน บางประเภทหักได้บางประเภทหักไม่ได้ มาดูกันว่ารถยนต์และน้ำมันแบบไหนที่หักภาษีมูลค่าเพิ่มได้บ้าง ประเด็นสำคัญที่จะเป็นตัวบอกว่าน้ำมันที่เติมไปนั้นนำมามาเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่ คือ “ประเภทรถยนต์” ถ้าเป็นรถเพื่อการพาณิชย์ เช่น รถกระบะ 2 ประตู รถบรรทุก รถยนต์นั่งเกิน 10 คน (รถตู้) น้ำมันที่เติมไปทุกประเภท สามารถนำมาเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเฉพาะน้ำมันดีเซลเท่านั้น แต่ถ้าเป็นรถนั่งไม่เกิน 10 คน เช่น รถเก๋ง รถแวน รถ SUV ไม่ว่าจะเติมน้ำมันชนิดใด ก็ไม่สามารถนำมาเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มได้แม้แต่จะเป็นน้ำมันดีเซลก็ตาม แต่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้เต็มจำนวน (ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 42) และมีประเด็นเพิ่มเติมว่าถ้าจ่ายค่าน้ำมันรถให้พนักงาน โดยรถนั้นเป็นรถเพื่อการพาณิชย์หรือรถยนต์นั่งเกิน 10 คน จะสามารถนำมาเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่ ซึ่งก็ให้ดูจากประเภทของรถยนต์เป็นหลัก ถ้าเป็นรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ก็สามารถนำมาเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มได้ อ้าง

เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของคุณคืออะไร? ค้นหาง่ายๆ นิดเดียว

ตามประกาศอธิบดีฉบับที่ 194-197 ให้มีการแก้ไขข้อความที่จะแสดงในใบกำกับภาษี โดยจะต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ประอบการจดทะเบียนลงในใบกำกับภาษีด้วยนั้น หากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการจำเลขประจำตัวผู้เสียภาษีไม่ได้ ก็สามารถค้นหาได้ทางอินเทอร์เน็ตโดยเข้าไปตาม Link นี้ http://www.rd.go.th/publish/313.0.html ซึ่งจะเข้าไปสู่หน้า “ระบบการค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม” โดยในหน้าเว็บนี้สามารถค้นหารายละเอียดได้จาก – เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร แบบ 13 หลัก – เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร แบบ 10 หลัก – ชื่อผู้ประกอบการฯ การค้นหาจากชื่อผู้ประกอบการฯ สามารถใส่เพียงบางส่วนก็ได้ เช่น จะค้นหาเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของ บริษัท บิซิเนส ซอฟต์ จำกัด ก็ใส่เพียง “บิซิเนส” (ไม่ต้องมีบริษัท ห้าง ร้าน นำหน้า) แล้วคลิกค้นหา ก็จะได้ผลการค้นหาออกมา การที่หน่วยงานได้จัดเตรียมข้อมูลไว้ให้ผู้ประกอบการฯ ได้ใช้ประโยชน์แบบนี้ จะช่วยให้การจัดทำเอกสารให้เป็นไปตามระเบียบได้อย่างถูกต้อง และลดความยุ่งยากลงไปได้เป็นอย่างมาก

กิจการพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ที่ต้องยื่นแบบรายการภาษี

ปัจจุบัน  กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นกิจการที่การเจริญเติบโตมาก แต่ผู้ประกอบการบางส่วนยังไม่มีความเข้าใจเรื่องภาษีอากร ดังนั้นกรมสรรพากรจึงรวบรวมประเภท  “ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่”  ที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี แสดงให้ผู้ประกอบการทราบเพื่อจักได้ดำเนินการอย่างถูกต้องต่อไป         1.  เว็บไซต์แสดงรูป และราคาสินค้า Catalog Website    หมายถึง เว็บไซต์ที่ผู้ประกอบการจัดทำขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นห้องแสดงสินค้า รายการราคาสินค้า ประชาสัมพันธ์รายการสินค้าโปรโมชั่น ณ ช่วงเวลานั้น ทั้งนี้อาจเน้นไปทางโฆษณาสินค้าตัวใหม่ๆ แต่ไม่ได้มีการซื้อขาย สินค้าออนไลน์แต่อย่างใด หากผู้ซื้อสินค้าสนใจจะซื้อสินค้าจะต้องโทรศัพท์เพื่อสั่งสินค้า ส่วนการชำระราคาค่าสินค้า จะเกิดขึ้นทันทีที่รับมอบสินค้าจากพนักงานส่งสินค้า ข้อสังเกต เว็บไซต์ประเภทนี้จะไม่มีระบบ ไม่มีตะกร้าในการซื้อขาย แต่จะมีเพียงรูปภาพ หรือรายการสินค้าพร้อมราคาเท่านั้น Note : สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี คือ ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการให้บริการ หรือขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ 2.  เว็บไซต์เพื่อการขายส

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ลดขั้นตอนในการออกใบกำกับภาษีแบบใหม่

มีลูกค้าหลายท่านได้โทรศัพท์ และ อีเมล์เข้ามาปรึกษากับทางบริษัทฯ ว่าจะทำอย่างไรถ้าลูกค้าไม่ได้ต้องการใบกำกับภาษี แต่ต้องการเพียงหลักฐานการซื้อสินค้าเท่านั้น เพราะ ไม่ต้องการบอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ซึ่งผมเองก็มองภาพเห็นถึงความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้นในการออกใบกำกับภาษีแน่นอนครับ  เช่น ไปซื้อของที่ร้านค้าแห่งหนึ่งต้องขอใบกำกับภาษี เพื่อนำไปเบิกคืนจากบริษัทฯ คุณจะต้องยื่นบัตรประชาชนให้กับทางผู้ขาย เพื่อออกใบกำกับภาษี  จริงๆ แล้วสินค้าที่ซื้อบางอย่างเราอาจจะไม่จำเป็นต้องขอใบกำกับภาษีก็ได้ แต่โดยหลักการแล้วควรจะต้องขอทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้า เมื่อได้กลับมาคิดและหาทางออกให้ลูกค้า ก็มีแนวคิดว่า ถ้าออกใบกำกับภาษีอย่างย่อแทนใบกำกับภาษีเต็มรูป จะเป็นไปได้หรือไม่ ก็ได้ทดลองออกแบบใบกำกับภาษีอย่างย่อ สำหรับโปรแกรมบัญชี EASY-ACC มาลองดู และหลังจากที่ได้ตรวจสอบข้อความและรายละเอียดที่กรมสรรพากรได้บังคับว่าจะต้องแสดงในใบกำกับภาษีอย่างย่อครบถ้วนแล้ว ก็น่าจะทำไปใช้งานจริงได้ ขั้นตอนในการขออนุมัติออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/morkor/06.pdf สำหรับผู้