ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2014

เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของคุณคืออะไร? ค้นหาง่ายๆ นิดเดียว

ตามประกาศอธิบดีฉบับที่ 194-197 ให้มีการแก้ไขข้อความที่จะแสดงในใบกำกับภาษี โดยจะต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ประอบการจดทะเบียนลงในใบกำกับภาษีด้วยนั้น หากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการจำเลขประจำตัวผู้เสียภาษีไม่ได้ ก็สามารถค้นหาได้ทางอินเทอร์เน็ตโดยเข้าไปตาม Link นี้ http://www.rd.go.th/publish/313.0.html ซึ่งจะเข้าไปสู่หน้า “ระบบการค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม” โดยในหน้าเว็บนี้สามารถค้นหารายละเอียดได้จาก – เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร แบบ 13 หลัก – เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร แบบ 10 หลัก – ชื่อผู้ประกอบการฯ การค้นหาจากชื่อผู้ประกอบการฯ สามารถใส่เพียงบางส่วนก็ได้ เช่น จะค้นหาเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของ บริษัท บิซิเนส ซอฟต์ จำกัด ก็ใส่เพียง “บิซิเนส” (ไม่ต้องมีบริษัท ห้าง ร้าน นำหน้า) แล้วคลิกค้นหา ก็จะได้ผลการค้นหาออกมา การที่หน่วยงานได้จัดเตรียมข้อมูลไว้ให้ผู้ประกอบการฯ ได้ใช้ประโยชน์แบบนี้ จะช่วยให้การจัดทำเอกสารให้เป็นไปตามระเบียบได้อย่างถูกต้อง และลดความยุ่งยากลงไปได้เป็นอย่างมาก

กิจการพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ที่ต้องยื่นแบบรายการภาษี

ปัจจุบัน  กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นกิจการที่การเจริญเติบโตมาก แต่ผู้ประกอบการบางส่วนยังไม่มีความเข้าใจเรื่องภาษีอากร ดังนั้นกรมสรรพากรจึงรวบรวมประเภท  “ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่”  ที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี แสดงให้ผู้ประกอบการทราบเพื่อจักได้ดำเนินการอย่างถูกต้องต่อไป         1.  เว็บไซต์แสดงรูป และราคาสินค้า Catalog Website    หมายถึง เว็บไซต์ที่ผู้ประกอบการจัดทำขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นห้องแสดงสินค้า รายการราคาสินค้า ประชาสัมพันธ์รายการสินค้าโปรโมชั่น ณ ช่วงเวลานั้น ทั้งนี้อาจเน้นไปทางโฆษณาสินค้าตัวใหม่ๆ แต่ไม่ได้มีการซื้อขาย สินค้าออนไลน์แต่อย่างใด หากผู้ซื้อสินค้าสนใจจะซื้อสินค้าจะต้องโทรศัพท์เพื่อสั่งสินค้า ส่วนการชำระราคาค่าสินค้า จะเกิดขึ้นทันทีที่รับมอบสินค้าจากพนักงานส่งสินค้า ข้อสังเกต เว็บไซต์ประเภทนี้จะไม่มีระบบ ไม่มีตะกร้าในการซื้อขาย แต่จะมีเพียงรูปภาพ หรือรายการสินค้าพร้อมราคาเท่านั้น Note : สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี คือ ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการให้บริการ หรือขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ 2.  เว็บไซต์เพื่อการขายส

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ลดขั้นตอนในการออกใบกำกับภาษีแบบใหม่

มีลูกค้าหลายท่านได้โทรศัพท์ และ อีเมล์เข้ามาปรึกษากับทางบริษัทฯ ว่าจะทำอย่างไรถ้าลูกค้าไม่ได้ต้องการใบกำกับภาษี แต่ต้องการเพียงหลักฐานการซื้อสินค้าเท่านั้น เพราะ ไม่ต้องการบอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ซึ่งผมเองก็มองภาพเห็นถึงความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้นในการออกใบกำกับภาษีแน่นอนครับ  เช่น ไปซื้อของที่ร้านค้าแห่งหนึ่งต้องขอใบกำกับภาษี เพื่อนำไปเบิกคืนจากบริษัทฯ คุณจะต้องยื่นบัตรประชาชนให้กับทางผู้ขาย เพื่อออกใบกำกับภาษี  จริงๆ แล้วสินค้าที่ซื้อบางอย่างเราอาจจะไม่จำเป็นต้องขอใบกำกับภาษีก็ได้ แต่โดยหลักการแล้วควรจะต้องขอทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้า เมื่อได้กลับมาคิดและหาทางออกให้ลูกค้า ก็มีแนวคิดว่า ถ้าออกใบกำกับภาษีอย่างย่อแทนใบกำกับภาษีเต็มรูป จะเป็นไปได้หรือไม่ ก็ได้ทดลองออกแบบใบกำกับภาษีอย่างย่อ สำหรับโปรแกรมบัญชี EASY-ACC มาลองดู และหลังจากที่ได้ตรวจสอบข้อความและรายละเอียดที่กรมสรรพากรได้บังคับว่าจะต้องแสดงในใบกำกับภาษีอย่างย่อครบถ้วนแล้ว ก็น่าจะทำไปใช้งานจริงได้ ขั้นตอนในการขออนุมัติออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/morkor/06.pdf สำหรับผู้

เกี่ยวกับรูปแบบใบกำกับภาษีแบบใหม่

ตามที่กรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 196 เกี่ยวกับรูปแบบใบกำกับภาษีแบบใหม่ โดยจะผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2557 แต่ได้เลื่อนออกไปเป็นวันที่ 1 มกราคม 2558 โดยสาระสำคัญในใบกำกับภาษีรูปแบบใหม่นี้จะต้องมีระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อหรือผู้รับบริการลงในใบกำกับภาษีด้วย ซึ่งจริงๆ แล้วก็มีข้อดีในแง่ของการตรวจสอบ แต่ไม่สะดวกกรณีที่บุคคลธรรมดาจะซื้อสินค้าหรือบริการ จะต้องแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (ซึ่งเป็นเลขเดียวกับบัตรประชาชน) ทางกรมสรรพากรจึงได้ออก ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับที่ 199 ข้อ 7 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ไว้ในใบกำกับภาษีนั้น โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้ ทั้งนี้ สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทำ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.

การคำนวณกำไรสุทธิและเงินได้สุทธิสำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. ๑๔๘/๒๕๕๗ เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและเงินได้สุทธิสำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติ และแนะนำผู้เสียภาษีในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ ที่จะนำไปคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หรือในการคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร ตามมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากร จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.61/2539 เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและเงินได้สุทธิสำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2539 ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ จะต้องคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยนำรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ