ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กิจการพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ที่ต้องยื่นแบบรายการภาษี

ปัจจุบัน กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นกิจการที่การเจริญเติบโตมาก แต่ผู้ประกอบการบางส่วนยังไม่มีความเข้าใจเรื่องภาษีอากร ดังนั้นกรมสรรพากรจึงรวบรวมประเภท “ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่” ที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี
แสดงให้ผู้ประกอบการทราบเพื่อจักได้ดำเนินการอย่างถูกต้องต่อไป
01_web   02_web   03_web
1. เว็บไซต์แสดงรูป และราคาสินค้า Catalog Website  หมายถึง เว็บไซต์ที่ผู้ประกอบการจัดทำขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นห้องแสดงสินค้า รายการราคาสินค้า ประชาสัมพันธ์รายการสินค้าโปรโมชั่น ณ ช่วงเวลานั้น ทั้งนี้อาจเน้นไปทางโฆษณาสินค้าตัวใหม่ๆ แต่ไม่ได้มีการซื้อขาย สินค้าออนไลน์แต่อย่างใด หากผู้ซื้อสินค้าสนใจจะซื้อสินค้าจะต้องโทรศัพท์เพื่อสั่งสินค้า ส่วนการชำระราคาค่าสินค้า จะเกิดขึ้นทันทีที่รับมอบสินค้าจากพนักงานส่งสินค้า ข้อสังเกต เว็บไซต์ประเภทนี้จะไม่มีระบบ ไม่มีตะกร้าในการซื้อขาย แต่จะมีเพียงรูปภาพ หรือรายการสินค้าพร้อมราคาเท่านั้น
Note : สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี คือ ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการให้บริการ หรือขายสินค้าผ่านเว็บไซต์
2. เว็บไซต์เพื่อการขายสินค้าe-Shopping หมายถึง เว็บไซต์ที่ผู้ประกอบการสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกิจการ ส่วนใหญ่จะใช้ชื่อกิจการเป็นชื่อเว็บไซต์โดยไม่มีคำอื่นต่อท้าย กิจการจะสร้างกิจกรรมบนเว็บไซต์แบบเต็มรูปแบบ โดยจะมีกิจกรรมต่างๆ มีการเคลื่อนไหวปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเว็บไซต์ให้ทันสมัยตลอดเวลา มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก ในส่วนของการขายสินค้า จะมีระบบการรับชำระ ค่าสินค้า มีตะกร้าให้เลือกสินค้า มีระบบการตรวจสอบการส่งของ มีระบบต่างๆ อีกมากมาย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า
Note : สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี คือ ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการให้บริการ หรือขายสินค้าผ่านเว็บไซต์
3. การขายสินค้าบนชุมชนเว็บบอร์ดโดยผู้ขายไม่มีเว็บไซต์เป็นของตนเองCommunity Web หมายถึง ชุมชนเว็บบอร์ดซึ่งเป็นที่รวมตัวของคนที่มีความสนใจคล้ายๆ กัน โดยทางเว็บไซต์ ได้จัดทำเว็บบอร์ดแล้วอนุญาตให้ สมาชิกนำสินค้าต่างๆมาโพสต์ขายได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันจะมีเว็บไซต์แบบนี้อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น เว็บสำหรับคนชอบมือถือกล้องถ่ายรูป อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งการทำเว็บไซต์ให้มีสินค้าตรงกับความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมาย จะช่วยให้การขายสินค้าได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น
การขายสินค้าบนเว็บบอร์ดของ Community Web เป็นการซื้อขายที่ผู้ซื้อ ส่วนใหญ่จะติดต่อกันทางโทรศัพท์หรือ e-mail ที่ให้ไว้บนเว็บบอร์ด แล้วคุยกันนอกรอบเพื่อตกลงเรื่องราคา ซึ่งมักจะใช้การชำระราคาค่าสินค้าด้วยวิธีการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร และรับสินค้าทางไปรษณีย์
Note : สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี คือ ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการให้บริการ หรือขายสินค้าผ่านเว็บไซต์
05_web    04_web    06_web
4. เว็บไซต์เพื่อการประมูลขายสินค้าe-Auction (electronic auction) หรือที่เรียกว่า online auction, e-bidding, online bidding หรือ การประมูลออนไลน์ คือการประมูลสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายเห็นความเคลื่อนไหวของราคาขณะประมูลในแบบเรียลไทม์ (real time) โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องของเวลา และสถานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
Note : สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี คือ ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการให้บริการ หรือขายสินค้าผ่านเว็บไซต์
5. เว็บไซต์ห้างสรรพสินค้าออนไลน์e-Market Place หรือ Shopping Mall  หมายถึง ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ ทำหน้าที่เหมือนห้างสรรพสินค้าปกติโดยทั่วไป คือ แบ่งเนื้อที่ในเว็บไซต์ออกเป็นขนาดเล็กๆ อาจจะจัดเป็นหมวดหมู่ โซนต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการที่สนใจมาเช่าหน้าร้านเพื่อประกอบธุรกิจโดย e-Market Place จะมีระบบจัดการเว็บไซต์ร้านค้าไว้บริการผู้ประกอบการ เช่น ระบบตะกร้าสั่งซื้อสินค้า ระบบรับชำระเงิน ระบบการตรวจเช็คสต็อก ระบบช่วยร้านค้าประชาสัมพันธ์สินค้า ระบบเว็บบอร์ด เป็นต้น
Note : สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี คือ ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการให้บริการ หรือขายสินค้าผ่านเว็บไซต์
6. การรับโฆษณาจากเว็บไซต์กูเกิ้ล Google AdSense  หมายถึง โปรแกรมการโฆษณาสินค้าที่ทาง Google เปิดโอกาสให้กับ ผู้ที่มีเว็บไซต์สามารถ สร้างรายได้ด้วยการ นำโฆษณาของ Google มาใส่ไว้ที่เว็บไซต์ โดยรายได้ จะเกิดจากการมีผู้อื่นมาเยี่ยมชม และการคลิกโฆษณานั้น ซึ่งโฆษณาต่างๆ ของ Google จะเป็นโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้อง กับเนื้อหาของเว็บไซต์ กรณีที่เว็บไซต์เกี่ยวข้องกับเกมส์ โฆษณาที่ทาง Google จะส่งมาก็จะเป็นเกี่ยวกับเกมส์ เช่นกัน
07_web    08_web    09_web    10_web
7. เว็บไซต์แหล่งซื้อขายภาพถ่ายดิจิตอลStock Photo หมายถึง ที่เก็บรวบรวมภาพถ่ายไว้ด้วยกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขายภาพถ่ายนั้น การขายภาพถ่าย เป็นเพียงคุณยินยอม หรืออนุญาตให้ผู้ซื้อใช้ภาพถ่ายของคุณเท่านั้น โดยคุณไม่ได้ขายขาดสิทธิ์ในภาพถ่ายดังกล่าว ดังนั้น ภาพถ่ายยังคงเป็นลิขสิทธิ์ของคุณ อยู่อย่างสมบูรณ์เช่นเดิม ซึ่งทำให้คุณสามารถ นำภาพถ่ายเดียวกันนี้ไปขายซ้ำแล้วซ้ำอีกจะกี่เว็บไซต์ก็ได้ ส่วนภาพถ่ายที่ซื้อมานั้น ผู้ซื้อสามารถ นำไปใช้ในการพิมพ์หนังสือ การพิมพ์เอกสารในโอกาสพิเศษ นิตยสาร บริษัทโฆษณา การสร้างภาพยนตร์ นักออกแบบเว็บไซต์ ศิลปินด้านภาพ บริษัทรับตกแต่งภายใน และด้านอื่นๆ ตามต้องการ ปัจจุบัน Stock Photo ไม่ได้รับเฉพาะภาพถ่ายเท่านั้น ยังรับภาพ จากนักออกแบบผู้สร้างสรรค์ภาพ จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม Illustrator, Photoshop อีกด้วย
8. การทำให้ผลการค้นหาบนกูเกิ้ลติดลำดับแรกๆ SEO หรือ Search Engine Optimization หมายถึง การทำให้ผลการค้นหาจาก Google แสดงข้อมูลเว็บไซต์ติดอันดับต้นๆ ของผลการค้นหาปกติ (Natuaral Search) นักคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ด้วยการปรับเว็บไซต์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การให้คะแนนของ Google หรือที่เรียกว่า PageRank เช่น เว็บไซต์ที่เปิดมาเป็นระยะเวลานาน ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์จำนวนมาก บทความบนเว็บไซต์มีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ ไม่มีข้อความที่คัดลอกจากเว็บไซต์อื่น เป็นต้น โดยเว็บไซต์ที่มี PageRank สูงก็จะได้อยู่ในอันดับต้นๆ ของผลการค้นหาปกติ ผู้ประกอบการที่ต้องการให้ผลการค้นหาของ Search engine ปรากฏบนหน้าแรกของการค้นหาซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับ Google Adwords / Google Adsense การโฆษณาแบบนี้ผู้ประกอบการต้องว่าจ้างนักคอมพิวเตอร์ที่มีความชำนาญเฉพาะด้านเป็นผู้ดำเนินการ
9. เว็บไซต์นายหน้าการขายสินค้าและบริการAffiliate Marketing หมายถึง ธุรกิจที่ใช้ระบบการขาย และชำระเงินของผู้ขาย โดยผู้ประกอบการจะชักชวนให้ซื้อสินค้าด้วยการโฆษณาข้อมูลสินค้าผ่านเว็บไซต์ของตนเองแล้วผู้ซื้อทำการคลิกผ่าน Banner หรือ Link ID เพื่อเข้าไปซื้อสินค้า/บริการ จากเว็บไซต์นั้นๆ จึงและจะได้รับผลตอบแทนค่าธรรมเนียมภายหลังการขายประสบผลสำเร็จ
10. การเล่นเกมผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ Game Online หมายถึง การเล่นเกมผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ โดยผู้เล่นเกมออนไลน์จะต้องติดตั้งโปรแกรมClient เพื่อเชื่อมโยง กับบริษัทผู้ให้บริการเกมออนไลน์ซึ่งทำหน้าที่เป็น Server ทั้งนี้ข้อมูลต่างๆ ของผู้เล่นเกมออนไลน์จะถูกเก็บไว้ในเครื่อง Server ซึ่งทำให้ผู้เล่นเกมออนไลน์สามารถแข่งขัน และสนทนา (Chart) กับผู้เล่นรายอื่นที่อยู่ในเกมออนไลน์ได้ทันที ทั้งนี้ผู้เล่นเกมออนไลน์ จะต้องเสียค่าบริการ สำหรับการเล่นเกมออนไลน์ตามอัตราและเงื่อนไขที่บริษัทผู้ให้บริการกำหนดไว้
 ที่มา : กรมสรรพากร

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของคุณคืออะไร? ค้นหาง่ายๆ นิดเดียว

ตามประกาศอธิบดีฉบับที่ 194-197 ให้มีการแก้ไขข้อความที่จะแสดงในใบกำกับภาษี โดยจะต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ประอบการจดทะเบียนลงในใบกำกับภาษีด้วยนั้น หากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการจำเลขประจำตัวผู้เสียภาษีไม่ได้ ก็สามารถค้นหาได้ทางอินเทอร์เน็ตโดยเข้าไปตาม Link นี้ http://www.rd.go.th/publish/313.0.html ซึ่งจะเข้าไปสู่หน้า “ระบบการค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม” โดยในหน้าเว็บนี้สามารถค้นหารายละเอียดได้จาก – เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร แบบ 13 หลัก – เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร แบบ 10 หลัก – ชื่อผู้ประกอบการฯ การค้นหาจากชื่อผู้ประกอบการฯ สามารถใส่เพียงบางส่วนก็ได้ เช่น จะค้นหาเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของ บริษัท บิซิเนส ซอฟต์ จำกัด ก็ใส่เพียง “บิซิเนส” (ไม่ต้องมีบริษัท ห้าง ร้าน นำหน้า) แล้วคลิกค้นหา ก็จะได้ผลการค้นหาออกมา การที่หน่วยงานได้จัดเตรียมข้อมูลไว้ให้ผู้ประกอบการฯ ได้ใช้ประโยชน์แบบนี้ จะช่วยให้การจัดทำเอกสารให้เป็นไปตามระเบียบได้อย่างถูกต้อง และลดความยุ่งยากลงไปได้เป็นอย่างมาก

ซื้อของไม่มีบิลทำอย่างไรให้หักเป็นค่าใช้จ่ายได้

เมื่อไปซื้อของหรือจ้างคนมาทำงานให้กับกิจการ ปรากฏว่าร้านที่ซื้อของไม่มีบิลหรือคนที่จ้างมาไม่ใช่บริษัท เช่น จ้างวินมอเตอร์ไซด์ไปส่งเอกสาร พนักงานเรียกแท็กซี่ไปหาลูกค้า ฯลฯ กรณีเช่นนี้อาจจะดูเหมือนว่าไม่สามารถทำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่จริงๆ แล้วสามารถทำได้โดยทำเอกสารประกอบให้ถูกต้องเท่านั้น ในกรณีของนิติบุคคลการจะจ่ายค่าสินค้าหรือค่าบริการ มาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้นั้นจะต้องมีหลักฐานประกอบ โดยทั่วไปก็จะใช้ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน ซึ่งจะต้องมีชื่อกิจการและเลขประจำตัวผู้เสียภาษีตามระเบียบที่กรมสรรพากรกำหนด แต่สำหรับในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้ให้บริการไม่สามารถที่จะออกเอกสารที่เป็นหลักฐานในการซื้อสินค้าหรือให้บริการได้ กิจการสามารถทำเอกสารเพิ่มเป็นหลักฐานในการจ่ายเงิน โดยจัดทำ “หนังสือรับรองการจ่ายเงิน” เพื่อใช้เป็นหลักฐาน และเพื่อให้เอกสารทั้งหมดถูกต้องจะต้องหลักฐานอื่นประกอบให้ครบถ้วนดังนี้ กรอกรายละเอียลงในหนังสือรับรองการจ่ายเงินให้ครบถ้วน ได้แก่ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เลขประจำตัวประชาชน รายการที่ซื้อหรือรับบริการจำนวนเงิน และให้ผู้รับเงินลงนามให้เรียบร้อย ถ่ายสำเนาบัตรประชาชนของผู้ขา

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ลดขั้นตอนในการออกใบกำกับภาษีแบบใหม่

มีลูกค้าหลายท่านได้โทรศัพท์ และ อีเมล์เข้ามาปรึกษากับทางบริษัทฯ ว่าจะทำอย่างไรถ้าลูกค้าไม่ได้ต้องการใบกำกับภาษี แต่ต้องการเพียงหลักฐานการซื้อสินค้าเท่านั้น เพราะ ไม่ต้องการบอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ซึ่งผมเองก็มองภาพเห็นถึงความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้นในการออกใบกำกับภาษีแน่นอนครับ  เช่น ไปซื้อของที่ร้านค้าแห่งหนึ่งต้องขอใบกำกับภาษี เพื่อนำไปเบิกคืนจากบริษัทฯ คุณจะต้องยื่นบัตรประชาชนให้กับทางผู้ขาย เพื่อออกใบกำกับภาษี  จริงๆ แล้วสินค้าที่ซื้อบางอย่างเราอาจจะไม่จำเป็นต้องขอใบกำกับภาษีก็ได้ แต่โดยหลักการแล้วควรจะต้องขอทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้า เมื่อได้กลับมาคิดและหาทางออกให้ลูกค้า ก็มีแนวคิดว่า ถ้าออกใบกำกับภาษีอย่างย่อแทนใบกำกับภาษีเต็มรูป จะเป็นไปได้หรือไม่ ก็ได้ทดลองออกแบบใบกำกับภาษีอย่างย่อ สำหรับโปรแกรมบัญชี EASY-ACC มาลองดู และหลังจากที่ได้ตรวจสอบข้อความและรายละเอียดที่กรมสรรพากรได้บังคับว่าจะต้องแสดงในใบกำกับภาษีอย่างย่อครบถ้วนแล้ว ก็น่าจะทำไปใช้งานจริงได้ ขั้นตอนในการขออนุมัติออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/morkor/06.pdf สำหรับผู้